เมนู

5. อันตชาดก


ว่าด้วยที่สุด 3 ประการ


[484] ข้าแต่พระยาเนื้อ ร่างกายของท่านเหมือน
ของโคอุสุภราช ความองอาจของท่านเหมือน
ของสีหราช ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ท่าน ทำ
อย่างไรข้าพเจ้าจึงจักได้อาหารสักหน่อย.
[485] กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดูก่อน
กาผู้มีสร้อยคองามดุจนกยูง เชิญท่านลงจาก
ต้นละหุ่งมากินเนื้อให้สบายเถิด.
[486] บรรดามฤคชาติทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอก
เป็นเลวที่สุด บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็น
เลวที่สุด บรรดารุกขชาติทั้งหลาย ต้นละหุ่ง
เป็นเลวที่สุด ที่สุด 3 ประเภทมารวมกันเอง.

จบ อันตชาดกที่ 5

อรรถกถาอันตชาดกที่ 5


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภคนทั้งสอง คือพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นนั่นแหละ จึง
ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุสภสฺเสว เต ขนฺโธ ดังนี้. เรื่องอันเป็น
ปัจจุบันเหมือนกับเรื่องแรกนั่นเอง ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ต้นละหุ่ง ในบริเวณ
บ้านแห่งหนึ่ง. ในกาลนั้น ชาวบ้านลากโคแก่ซึ่งตายในบ้านนั้น ไป
ทิ้งที่ป่าละหุ่งใกล้ประตูบ้าน. มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งมากินเนื้อของโค
แก่ตัวนั้น. มีกาตัวหนึ่งบินมาจับอยู่ที่ต้นละหุ่งเห็นดังนั้นจึงคิดว่า ถ้า
กระไรเรากล่าวคุณกถาอันไม่มีจริงของสุนัขจิ้งจอกตัวนี้แล้วจะได้กิน
เนื้อ จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า :-
ข้าแต่พระยาเนื้อ ร่างกายของท่านเหมือน
ร่างกายโคอุสุภราช ความองอาจของท่าน
เหมือนดังราชสีห์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
แก่ท่าน ทำอย่างไรข้าพเจ้าจึงจักได้อาหารสัก
หน่อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม ตฺยตฺถุ อันเป็น นโม เต อตฺถุ
แปลว่า ขอนอบน้อมแด่ท่าน.
สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-
กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดูก่อน
กาผู้มีสร้อยคองามดุจนกยูง เชิญท่านลงจาก
ต้นละหุ่งมากินเนื้อให้สบายเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิโต ปริยาท นี้ สุนัขจิ้งจอก
กล่าวว่า ท่านลงจากต้นละหุ่ง คือมาจากต้นละหุ่งนี้จนถึงเรา แล้วจง

กินเนื้อ.
รุกขเทวดาเห็นกิริยาของสัตว์ทั้งสองนั้นจึงกล่าวคาถาที่สามว่า :-
บรรดามฤคชาติทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอก
เป็นเลวที่สุด บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็น
เลวที่สุด บรรดารุกขชาติทั้งหลาย ต้นละหุ่ง
เป็นเลวที่สุด ที่สุดทั้ง 3 ประเภทมาสมาคม
กันแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺโต แปลว่า เลว คือ ลามก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต กาใน
กาลนั้นได้เป็นพระโกกาลิกะ ส่วนรุกขเทวดา คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาอันตชาดกที่ 5

6. สมุททชาดก


ว่าด้วยสมุทรสาคร


[487] ใครนี้หนอมาเที่ยววนเวียนอยู่ในน้ำ
ทะเลอันเค็ม ย่อมห้ามปลาและมังกร
ทั้งหลาย และย่อมเดือดร้อนในกระแสน้ำ
ที่มีคลื่น.
[488] ข้าพเจ้าเป็นนกชื่อว่าอนันตปายี ปรากฏ
ไปทั่วทิศว่า เป็นผู้ไม่อิ่ม เราปรารถนาจะดื่ม
น้ำในมหาสมุทรสาครใหญ่ ว่าแม่น้ำทั้งหลาย.
[489] สมุทรสาครนี้พร่องก็ดี เต็มเปี่ยมอยู่ก็ดี
ใคร ๆ จะดื่มน้ำในสมุทรสาครนั้น ก็หาพร่อง
ไปไม่ ได้ยินมาว่า สาครอันใคร ๆ ไม่อาจ
จะดื่มกินให้หมดสิ้นไปได้.

จบ สมุททชาดกที่ 6

อรรถกถาสมุททชาดกที่ 6


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระอุปนันทเถระ จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า โก นฺวายํ ดังนี้.
ได้ยินว่า พระอุปนันทะนั้นบริโภคมาก มีความทะเยอ-
ทะยานมาก ใคร ๆ ไม่อาจให้พระอุปนันทะนั้นอิ่มหนำแม้ด้วยปัจจัย